รวม 10 เหตุผลที่ทำให้เราเป็นมนุษย์ปวดหลังเรื้อรัง

Last updated: 27 ก.พ. 2567  |  807 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ปวดหลังเรื้อรัง
อาการปวดหลังไม่ได้เกิดขึ้นกับผุ้สูงอายุเท่านั้น แต่ยังเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัยที่อาจกำลังทำร้ายกระดูกสันหลังของตัวเอง ผ่านนิสัยหรือพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดอาการ  “ปวดหลัง”  โดยไม่รู้ตัว แล้วอะไรคือสาเหตุหลักที่ทำให้เราปวดหลัง

รวม 10 สาเหตุที่ทำให้เราเป็นมนุษย์ “ปวดหลังเรื้อรัง”
1. นั่งนานเกินไป

หนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เกิดออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) คือการนั่งท่าเดิมๆ เป็นเวลานาน เพราะกระดูกสันหลังไม่ได้มีการเคลื่อนไหว กล้ามเนื้อที่เกาะกระดูกสันหลังก็ไม่ได้มีการเคลื่อนไหว ทำให้เกิดการอ่อนล้า หรือการเกร็งของกล้ามเนื้อหลัง ส่งผลให้ปวดตั้งแต่ต้นคอ สะบัก กลางหลัง ปวดหลังส่วนล่าง คือปวดบริเวณเอว จนถึงสะโพก ซึ่งก็จะเป็นปัญหาที่พบบ่อยที่สุดในชีวิตประจำวัน



2. ท่านั่งที่ผิด นั่งไขว่ห้าง ห่อไหล่ หลังค่อม

การนั่งไขว่ห้างเป็นท่าที่ใครหลายคนคิดว่าเป็นท่าที่สบาย แต่รู้ไหมว่าถ้านั่งนานๆ จะส่งผลทำให้กล้ามเนื้อบางมัดเกร็งผิดตัวผิดปกติ ตามมาด้วยอาการปวดและอักเสบของกล้ามเนื้อ ทำให้ปวดหลังร้าวลงขาหรือสะโพก หรือขาชาได้ สำหรับบางคนอาจจะชินกับการนั่งก้มคอ ห่อไหล่ หลังค่อม ยื่นหน้าดูจอคอมพิวเตอร์ใกล้ๆ ก็จะทำให้กล้ามเนื้อบริเวณคอบ่าไหล่ หดเกร็งตัว ทำให้ปวดคอ ร้าวขึ้นหัวและปวดหัวได้ ซึ่งการนั่งผิดท่านี้เป็นสาเหตุยอดฮิตที่ทำให้เกิดออฟฟิศซินโดรม หรือบางครั้งอาจจะเกิดจากระดับความสูงของโต๊ะ เก้าอี้ หน้าจอ ไม่เหมาะสม ทำให้เราเผลอเกร็งกล้ามเนื้อโดยไม่รู้ตัวก็ได้ ซึ่งถ้าเราปล่อยทิ้งไว้นานๆ อาจส่งผลทำให้อาการปวดนั้นเรื้อรังและยากที่จะรักษาให้หายเป็นปกติได้



3. พฤติกรรมจากการยืนนานๆ

คนที่มีอาชีพที่ต้องยืนนานๆ อย่างพนักงานขาย เชฟ ครู ช่างตัดผม พนักงานโรงงาน บางคนอาจจะต้องยืนทุกวันวันละหลายชั่วโมง ซึ่งคนกลุ่มนี้จะใช้งานหลังส่วนล่างมาก กล้ามเนื้อจะเกิดการเกร็งจากการยืนนานตลอดเวลา ทำให้เวลาปวดหลังจะมีความรู้สึกปวดหลังบริเวณเอวมากกว่าส่วนอื่นๆ

4. การก้มยกของหนัก

การยกของหนักในท่าที่ไม่ถูกต้อง หรือใช้แรงกล้ามเนื้อหลังมากจนเกินไป เช่น ยืนแล้วต้องยกของจากพื้น ทำให้เกิดการโค้งงอของหลัง อาจทำให้เกิดอาการปวดหลังส่วนกลางและส่วนล่าง ยิ่งถ้าของที่ยกมีน้ำหนักมากต้องมีการเกร็งหรือเอื้อมตัวเพื่อที่จะหยิบสิ่งของ ยิ่งทำให้กล้ามเนื้อต้องใช้แรงมากขึ้น ก็อาจทำให้ปวดหลังได้

5. ถือกระเป๋าหนักๆ

พฤติกรรมบ้าหอบฟางชอบหิ้วหรือสะพายของหนักๆ จะทำให้เราปวดหลังส่วนบน อาจจะลามไปถึงการปวดต้นคอกับไหล่ได้ เพราะบางครั้งกระเป๋าหรือเป้หนัก เราก็จะพยายามดึงกระเป๋าหรือเป้มาข้างหน้า ทำให้เกิดการดึงรั้งช่วงต้นคอ หัวไหล่ได้ อาจจะต้องมีเครื่องผ่อนแรง เช่น รถเข็น หรือใช้แบบกระเป๋าลากแทน



6. การเอี้ยวตัวไปหยิบของจากด้านหลัง 

ถ้าทำโดยไม่ระมัดระวังหรือเอี้ยวแรงและเร็วเกินไป ก็อาจจะเป็นสาเหตุที่ทำให้เราปวดหลังส่วนกลางได้ นอกจากนี้การบิดตัวในขณะที่ร่างกายยังไม่พร้อมอาจทำให้กระดูกสันหลังซึ่งอยู่ในท่าที่ไม่เหมาะสมมีการบิดตัวกะทันหัน เสี่ยงต่อการที่กล้ามเนื้ออักเสบ หรือหมอนรองกระดูกปลิ้นได้ง่าย

7 การใส่รองเท้าส้นสูง : รองเท้าที่สูงมากจะยิ่งทำให้กระดูกสันหลังของเราแอ่นมาก เนื่องจากถ้ากระดูกสันหลังไม่แอ่น เราจะต้องโน้มตัวไปข้างหน้า ทำให้เวลาเดินเหมือนหน้าคว่ำ ซึ่งถ้าใช้ส้นสูงเป็นเวลานาน กระดูกสันหลังก็จะแอ่นตลอดเวลา ทำให้มีอาการปวดหลังได้ง่าย

8. ท่านอนหรือที่นอนไม่เหมาะสม 

หลายคนอาจจะไม่รู้ว่า “ท่านอน” ที่ไม่ถูกต้อง หรือนอนคว่ำเป็นประจำก็อาจจะส่งผลต่ออาการปวดหลังของเราได้เช่นกัน ท่านอนที่ดีที่สุดก็คือการนอนที่ร่างกายของเราไม่ได้ถูกกดทับและกระทบต่อการนอนหลับของเรา โดยท่าที่แนะนำสำหรับผู้ที่มีอาการปวดหลังคือ "ท่านอนหงาย" เพราะจะทำให้กระดูกสันหลังของเราเรียงตัวอยู่ในสรีระที่ถูกต้องที่สุด ส่วนเตียงนอนที่นิ่มหรือนุ่มจนเกินไป อาจจะทำให้ปวดหลังส่วนกลางจนถึงช่วงล่าง เนื่องจากการโค้งแอ่นของหลังเวลาที่เรานอน

9. น้ำหนักตัวที่มากเกินไป

เนื่องจากกระดูกสันหลังส่วนเอวจะต้องแบกน้ำหนักส่วนบนที่มากเกินไปอยู่ทั้งวัน ก็ทำให้อาจเกิดอาการเมื่อยหรือปวดหลังได้ จึงควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะกล้ามเนื้อหลังและท้อง เพื่อให้กล้ามเนื้อส่วนนี้แข็งแรงขึ้นจะได้ช่วยลดอาการปวดหลังได้

10. ปวดหลังจากการเล่นกีฬา 

กีฬากอล์ฟ เพราะจะเป็นการใช้ในส่วนของหลังมาก เนื่องจากกระดูกสันหลังส่วนเอวปกติจะใช้

ปวดหลังแบบไหน ควรรีบไปหาหมอ
หากมีอาการปวดหลัง พอพักแล้วหาย หรือพอได้ผ่อนคลายอาการจะดีขึ้น ก็ถือว่าเป็นอาการที่ยังไม่น่ากังวล แต่ก็ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่อาจเป็นสาเหตุที่เกิดอาการปวดหลังแบบรุนแรงหรือเรื้อรังต่อไปในอนาคต แต่ถ้าปวดหลังแล้วมีอาการ "ปวดไปที่แขนหรือขาร่วมด้วย" หรือ "รู้สึกแขนขาอ่อนแรง" อาการลักษณะนี้อาจจะเกิดจากกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท ต้องรีบเข้ามาพบแพทย์

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้